แผ่นเมทัลชีท พียู มีกี่ประเภท ควรเลือกใช้อย่างไร

57029 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แผ่นเมทัลชีท พียูโฟมมีกี่ประเภท ควรเลือกใช้อย่างไร

แผ่นเมทัลชีท PU หรือหลังคาเมทัลชีทพียูโฟมมีกี่ประเภท ควรเลือกใช้อย่างไร

     หากอยากให้บ้านมีความรู้สึกที่เย็นสบายนั้นมีหลายวิธี เช่น การปลูกต้นไม้ใหญ่รอบๆ บ้าน การติดตั้งหลังคากันสาด และอีกวิธีหนึ่งที่เป็นวิธีกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ดี คือการติดฉนวนกันความร้อน

ฉนวนกันความร้อน มี 2 ประเภท คือ

     แบบแผ่น สามารถติดตั้งได้ง่ายอย่างปูบนฝ้าเพดาน ติดในโครงผนังเบา ติดบนแป ลักษณะของฉนวนกันร้อนประเภทนี้จะจำหน่ายเป็นม้วน มีความหนาและค่ากันความร้อนแตกต่างกัน ขนาดความยาวต่อม้วนและราคาจะแตกต่างกันตามวัสดุด้วย
     แบบพ่น เป็นฉนวนที่ใช้พ่นบนวัสดุอีกชนิดหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่กันความร้อน เช่น แผ่นหลังคาบ้าน ฝ้าเพดาน และผนังห้อง อายุการใช้งานยาวนาน ได้แก่

เซรามิคสะท้อนความร้อน (Ceramic Coating) เป็นแผ่นฟิล์มที่ได้จากอนุภาคเซรามิคมาผสมกับอะคริลิกและส่วนผสมอื่นๆ สำหรับพ่นรอบๆ อาคาร ทั้งภายในและภายนอก ส่วนใหญ่จะนิยมเคลือบหลังคาและดาดฟ้า กระเบื้องมุงหลังคาบางยี่ห้อก็เคลือบ Ceramic Coating มาเรียบร้อย ในขณะเดียวกันสีทาภายนอกก็ยังเพิ่มฉนวนกันร้อนชนิดนี้ผสมเข้าไปในเนื้อสีด้วย ช่วยกันร้อนได้อีกเช่นกัน นอกจากจะกันร้อนได้แล้ว Ceramic Coating ยังกันน้ำซึมได้อีกด้วย
เยื่อกระดาษ (Cellulose) ฉนวนกันร้อนเยื่อกระดาษมีคุณสมบัติควบคุมอุณหภูมิด้วยเส้นใยที่ผสมกันเป็นปุยนุ่น น้ำหนักเบา ป้องกันเสียงเข้าออก ไม่ลามไฟ และยังมีคุณสมบัติเฉพาะคือไม่เป็นแหล่งอาหารของหนู แมลงสาบ ปลวก ฉีดได้ในหลายพื้นผิวทั้ง เหล็ก ไม้ เหมาะสำหรับติดตั้งบริเวณใต้หลังคา โพรงหลังคา และฝ้าเพดาน
     การติดฉนวนกันความร้อนในภายหลังนั้นมีค่าใช้จ่ายทั้งตัวฉนวนและค่าแรงช่าง รวมทั้งพบเจอบริเวณที่ทำการติดฉนวนได้ยาก หากเลือกวัสดุที่ทำฉนวนกันความร้อนพร้อมตั้งแต่ต้นจากโรงงานเลยทำให้ประหยัดงบได้และลดปัญหากวนใจที่อาจจะตามมา 
     ปัจจุบันเมทัลชีท มีราคาถูก สามารถนำมามุงหลังคาหรือทำผนังก็ได้ แผ่นเมทัลชีทที่บุฉนวนกันความร้อน มี 3 ประเภทคือ
    1. Metal sheet PE
    2. Metal sheet EPS foam
    3. Metalsheet PU (เมทัลชีท PU) เป็นหลังคาเหล็กบุฉนวนพียูโฟม (PU Foam + Metal Sheet) เพื่อป้องกันความร้อนสูง ทำให้บ้านเงียบ เย็น ไม่ร้อน มีความหนา 1 นิ้วขึ้นไป (ความหนาเมทัลชีท PU 1 นิ้ว และ 2 นิ้ว การกันความร้อนจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่เราต้องการ) เหมาะสำหรับใช้ภายในอาคารทีมีการใช้เครื่องปรับอากาศ หลังคาเหล็กเมทัลชีทติดพียูโฟม ผลิตจากหลังคาเหล็กรีดลอน นำมาผ่านเครื่องฉีดพ่นพียูโฟม (PU Foam) ใต้ท้องแผ่นหลังคาเหล็กเมทัลชีท จึงได้แผ่นเมทัลชีทบุฉนวนพียูโฟมที่เป็นแผ่นสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน สามารถนำเมทัลชีท PU (Metalsheet PU) ที่บุฉนวนมาใต้แผ่นแล้วนี้ ขึ้นไปมุงบนหลังคาได้ไปพร้อมกันในครั้งเดียว  

     3.1. พียูโฟม + อลูมิเนียมฟอยล์ (PU Foam + Aluminium Foil) อลูมิเนียมฟอยล์เป็นฟอยล์ปิดทับพียูโฟมกับเมทัลชีท มีความทนทานเสริมด้วยเส้นใย Fiberglass ทำให้มีความเหนียวและยืดหยุ่น ไม่ขาดง่าย สามารถสะท้อนแสงสว่างทำให้เกิดความสว่างภายในตัวบ้าน อาคารได้ดี

     3.2. พียูโฟม + พีวีซีดำ (PU Foam + PVC Sheet) มีทั้งสีดำและสีขาว มีลวดลายเพื่อเสริมความแข็งแรงของแผ่น PVC มีลักษณะคล้ายวอลเปเปอร์ เหมาะสำหรับใช้ในตัวบ้าน อาคาร ที่ไม่โดนรังสี UV จากแดด เพราะหากแผ่น PVC Sheet โดนแดดจะทำให้มีสีเหลือง กรอบและแตกง่าย

     3.3. หลังคาเมทัลชีทแซนวิซ (PU Sandwich)

     ดังนั้นปัจจุบันฉนวนที่เหมาะกับหลังคาเมทัลชีทก็คือ ฉนวนพียูโฟม (Polyurethane Foam) เพราะฉนวนพียูโฟมมีคุณสมบัติดีทั้งในเรื่องกันความร้อนเป็นอย่างดี และในเรื่องของการกันเสียงที่ดีเยี่ยม ซึ่งจะช่วยในเรื่องของกันความร้อนและเสียงไม่ให้ผ่านเข้าสู่ตัวบ้าน จึงทำให้บ้านเย็นและเงียบ ด้วยความที่พียูโฟมมีคุณสมบัติเป็นกาวในตัว จึงทำให้ยึดเกาะติดกับหลังคาได้เป็นอย่างดี ไม่มีปัญหาการหลุดร่วงเหมือนฉนวน PE Foam ที่ใช้กาวยางเป็นตัวประสาน ซึ่งกาวเมื่อโดนอุณหภูมิความร้อนของหลังคาเมทัลชีท ซึ่งมีอุณหภูมิสูงจะทำให้อายุการใช้งานของกาวเสื่อม และหลุด ในระยะเวลาประมาณ 3-5 ปี และถ้าเทียบในเรื่องของความหนาที่เท่ากันระหว่างฉนวนพียูโฟม (PU Foam) และพีอี (PE Foam) ในเรื่องของราคา พียูโฟมจะถูกกว่า อายุการใช้งานเท่ากับอายุของหลังคาและกันร้อนกันเสียงดีที่สุด เป็นฉนวนที่เหมาะกับหลังคาเมทัลชีทมากที่สุด

      ในการเลือกซื้อแผ่นเมทัลชีทบุฉนวนในตัวควรให้พิจารณาปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นราคา การกันความร้อน (ฉนวนโฟม PS กันความร้อนได้มากกว่าฉนวนโฟม PU ส่วนฉนวนโฟม PE จะกันความร้อนได้น้อยกว่าฉนวนโฟม PU) ส่วนในเรื่องการลามไฟ ฉนวนโฟม PE เมื่อโดนไฟ จะเกิดเป็นลูกไฟหยดลงเบื้องล่าง ในขณะที่ฉนวนโฟม PU และ PS ที่ผสมสารกันไฟจะไม่ลามไฟ (แต่ฉนวนโฟม PU จะเกิดสารพิษมากกว่า และควรพิจารณาวัสดุที่ประกบข้างใต้ด้วยว่าลามไฟหรือไม่)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้